บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2016

อยากรู้วิธีการเขียนไลบรารีของ Arduino

รูปภาพ
สวัสดีครับอาจารย์.. ต้องขออภัยถ้าข้อความนี้มาในเวลาดึก นะครับ คือ ผม อยากสอบถามครับ ว่า ผมอยากจะ หัดเรียนรู้ หัดเขียน โปรแกรม ทาง ฝั่งไลเบอรี่ของอดุยโน่ ถ้าผมเรียกไม่ผิด คือภาษา C++ อาจารย์มีหนังสือแนะนำไหมครับ..จุดประสงค์ อยากสร้างไลเบอรี่เอง และ ดัดแปลงไบเบอรี่ที่มีอยู่.. พื้นฐานผม ภาษาซีลงลึกถึงรีจิสเตอร์ได้ครับ ขอบคุณครับผม ด้วยความเคารพ 1. เริ่มต้นที่ C++ จากหนังสือเล่มไหนก็ได้ครับ ในอินเตอร์เน็ตก็ได้ครับ 2. ศึกษาการเขียนโค้ดแบบ AVR ครับด้วยภาษา C เพราะจะเป็นการเข้าถึงรีจิสเตอร์ต่าง ๆ ของ AVR ครับ 3. จากนั้นลองดูตัวอย่างไลบรารีของ Arduino โดยตรงเลยครับว่าเขาเขียนกันแบบไหน ดูแบบวิว ๆ ไปก่อน โดยเราต้องมีความรู้ใน ข้อที่ 1 และ 2 แล้ว 4. จากนั้นไปดูข้อกำหนดการเขียนไลบรารีที่ www.arduino.cc ครับ ตาม link ครับ เพื่อให้เขียนได้ถูกต้องตามข้อกำหนดของเขา (จริง ๆ แล้วเขียนสไตล์เราก็ได้ แต่ไม่แนะนำครับ) https://www.arduino.cc/en/Reference/Libraries https://www.arduino.cc/en/Hacking/LibraryTutorial https://www.arduino.cc/en/Reference/APIStyleGuide ***ตอนนี้ Arduino แบ่ง...

ฟังก์ชัน SerialEvent กับ Arduino

รูปภาพ
โดยปกติแล้วในการเขียนโปรแกรมติดต่อกับพอร์ตอนุกรม ในบางงานเราต้องการรับข้อมูลอนุกรมในรูปแบบของอินเตอร์รัปต์ คือ ส่วนของโปรแกรมหลัก ยังคงทำงานไปอย่างต่อเนื่อง ถ้ามีข้อมูลเข้ามาที่พอร์ตอนุกรม เราจึงจะค่อยเข้าไปอ่านข้อมูลจากบัพเฟอร์รับข้อมูล เราสามารถทำงานในรูปแบบนี้ได้ด้วยฟังก์ชัน SerialEvent ที่ Arduino ได้เตรียมไว้ให้ใช้งานดังนี้  จากโค้ดโปรแกรมจะเห็นได้ว่าเราไม่ต้องค่อยตรวจสอบข้อมูลอนุกรมในฟังก์ชัน loop() โดยปล่อยให้ฟังก์ชัน loop() ยังคงทำงานแสดงการติดดับของ LED ที่ขาพอร์ตดิจิตอลหมายเลข  13ไปอย่างต่อเนื่องทุก ๆ 100 มิลลิวินาที ส่วนฟังก์ชัน serialEvent() ก็ค่อยรับข้อมูลจากพอร์ตอนุกรม เมื่อมีข้อมูลมาที่พอร์ตอนุกรมฟังก์ชัน serialEvnet จะถูกเรียกใช้งานโดยอัตโนมัติ พร้อมอ่านข้อมุลจากพอร์ตอนุกรมด้วยฟังก์ชัน Serial.read() และเขียนข้อมูลไปที่พอร์ตอนุกรมด้วยฟังก์ชัน Serial.println() ในลำดับถัดไป  ลองนำไปทดลองเล่นกันดูนะครับ :)

เพิ่มเลขศูนย์เพื่อใช้ในการแสดงวัน 2016/04/09 และเวลา 16:04:09

รูปภาพ
โดยปกติเวลาเราจะแสดงตัวเลขของ วันเดือนปีและเวลา ของนาฬิกา เรานิยมที่จะใส่เลขศูนย์หน้าตัวเลขที่แสดงตัวเลขเพียงหลักเดียว ตัวอย่างเช่น รูปแบบของ ปี/เดือน/วัน เช่น 2016/4/9 เราจะนิยมที่แสดงในรูปแบบ 2016/04/09 คือมีการแทรกเลขศูนย์หน้าตัวเลขหลักเดียว เช่น 2016/12/9 เราจะนิยมที่แสดงในรูปแบบ 2016/12/09 เป็นต้น  รูปแบบของ ชั่วโมง:นาที:วินาที เช่น 16:4:9 เราจะนิยมที่แสดงในรูปแบบ 16:04:09 คือมีการแทรกเลขศูนย์หน้าตัวเลขหลักเดียว เช่น 16:12:9 เราจะนิยมที่แสดงในรูปแบบ 16:12:09 เป็นต้น เราสามารถแทรกตัวเลขศูนย์เพิ่มเข้าไปได้ด้วยเทคนิคง่าย ๆ กับโค้ดโปรแกรมต่อไปนี้ ผลลัพธ์ที่ได้ เทคนิคนี้ได้มาจากตัวอย่างโปรแกรม DS1302_Serial ครับ :)