10 ขั้นตอนในการเลือกไมโครคอนโทรลเลอร์คู่ใจ
ขั้นตอนที่ 1: มั่นใจนะครับว่า จุดอินเตอร์เฟสมีมากพอตามความต้องการ
ข้อ แรกนี้ดูสำคัญที่สุด เพราะถ้าอินเตอร์เฟสที่ต้องการใช้มากกว่าที่ไมโครคอนโทรลเลอร์มีให้ ไมโครคอนโทรลเลอร์ตัวนั้นก็ไม่ตอบโจทย์ความต้องการตั้งแต่แรกแล้ว
ขั้นตอนที่ 2: ตรวจสอบสถาปัตยกรรมทางด้านซอฟต์แวร์
มอง ดูว่าความสามารถทางด้านซอฟต์แวร์รองรับงานเราหรือไม่ เช่น ถ้าต้องการใช้การประมวลผลสัญญาณดิจิตอล ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่เป็นตัวเลือกต้น ๆ ได้แก่ Microchip (dsPIC30F, dsPIC33F, dsPIC33E), Texas Instruments (TMS320F28x, TMS320LF240), Freescale (MC56F83x, MC56F80x, MC56F81x) แต่ถ้าต้องการเพียงงานควบคุมทั่ว ๆ ไปก็ไมโครคอนโทรลเลอร์เหล่านี้ PIC, AVR, MCS-51 ก็สามารถตอบโจทย์ได้แล้ว
ขั้นตอนที่ 3: เลือกสถาปัตยกรรมของไมโครคอนโทรลเลอร์
ขั้น ตอนนี้ผมมองว่าคือ การมองดูคุณสมบัติของไมโครคอนโทรลเลอร์นั่นเอง เช่น โมดูลฟังก์ชันที่มีให้ใช้งาน ระดับหน่วยประมวลผล 8บิต, 16บิต หรือ 32บิต สถาปัตยกรรมเป็นแบบ CISC, RISC เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 4: กำหนดหน่วยความจำที่ต้องการใช้งาน
ส่วน นี้สำคัญ ถ้าเลือกหน่วยความจำมากไปไม่เกิดประโยชน์ แต่ถ้าน้อยไปก็จะใช้งานได้ไม่คล่องตัว หน่วยความจำ เช่น หน่วยความจำโปรแกรม (FLASH) หน่วยความจำที่อยู่ของโค้ดโปรแกรมที่เขียน หน่วยความจำข้อมูล (RAM) หน่วยความจำที่ใช้ในระหว่างโปรแกรมกำลังทำงาน
ขั้นตอนที่ 5: เริ่มหาไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ใช่และใช้ได้
หลัง จากผ่านมา 4 ขั้นตอน เราก็หน้าจะได้ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ตอบโจทย์งานที่ต้องทำ ขั้นตอนต่อไปก็เริ่มหาไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ใช่แล้วครับ
ขั้นตอนที่ 6: ตรวจสอบราคาคุ้มหรือไม่และการใช้งานพลังงาน
หาให้ถูกที่สุดและใช้ได้ ประหยัดพลังงานได้มากเท่าไรก็ยิ่งดี โลกกำลังร้อน ๆ อยู่ครับ พลังงานต้องประหยัด
ขั้นตอนที่ 7: ตรวจสอบความพร้อมสิ่งที่ต้องเกี่ยวข้องกับไมโครคอนโทรลเลอร์
ขั้น ตอนนี้คือการตรวจสอบว่าของทั้งหมดจะยังคงมีให้คุณเลือกและใช้ได้จนกว่า งานโปรเจคของคุณจะปิด และเลิกใช้ เช่น เลือกไมโครคอนโทรลเลอร์มาแล้วต้องใช้ไปอย่างน้อย 10 ปี แต่คอนโทรลเลอร์ตัวดังกล่าวจะหยุดการผลิตในอีก 5 ปี งานนี้ก็ไม่ควรเลือกตัวนี้ เว้นแต่จะมีคอนโทรลเลอร์ที่จะเป็นตัวแทนได้ การตรวจสอบจากผู้ผลิตเป็นสำคัญ
ขั้นตอนที่ 8: เลือกเครื่องมือในการพัฒนางาน
ขั้นตอนนี้ จะเกี่ยวข้องกับฮาร์ดแวร์ เช่น บอร์ดพัฒนางาน บอร์ดทดลอง บอร์ดใช้งาน เครื่องโปรแกรม เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 9: ตรวจสอบคอมไพเลอร์และเครื่องมือที่ใช้
ขั้น ตอนนี้ จะเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เช่น เครื่องมือในการเขียนโค้ดทั้งที่ฟรีและเสียเงิน เป็นเครื่องมือแบบ IDE หรือแยกส่วนการเขียนโค้ดกับการคอมไพล์ออกจากกัน
ขั้นตอนที่ 10: เริ่มเรียนรู้และทดสอบ
สุด ท้าย เมื่อเลือกไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่องานที่ต้องการได้แล้ว ก็คงต้องลงมือเรียนรู้และทดสอบเพื่อให้ได้งานตามที่ต้องการ พร้อมกับรับรางวัลแห่งความสำเร็จของงาน
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
จากขั้นตอนที่กล่าวมาทั้งหมด ถ้าท่านยังคงประสบกับปัญหา เราพร้อมที่จะช่วยดูงานของคุณและเลือกคอนโทรลเลอร์ที่เหมาะสมให้ครับ :)
ติดต่อได้ที่ โทร. 0-2413-3985, 081-4850870 หรือ email: info.appsofttech@gmail.com
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
** เนื้อหาดัดแปลงตามแนวความคิดของผู้เขียน
เนื้อหาจาก "10 Steps to Selecting a Microcontroller" by Jacob Beningo
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น