JAVA กับข้อมูลอะเรย์ (Array)

JAVA กับข้อมูลอะเรย์ (Array) (Java 2015-08-07)
ประจิน พลังสันติกุล

                วันนี้เราจะมีเรียนรู้การใช้งานข้อมูลที่เรียกว่า อะเรย์ กันครับ จุดประสงค์หลัก ๆ ในการสร้างข้อมูลอะเรย์ เพื่อเก็บข้อมูลที่มีความต่อเนื่องและเกี่ยวข้องกัน เช่น เราต้องการสร้างตัวแปรเก็บข้อมูล จำนวน 20 ตัว ซึ่งมีชนิดข้อมูลเดียวกัน เราไม่นิยมที่จะสร้างตัวแปรด้วยวิธีการดังนี้คือ

int num1, num2, num3,…, num18, num19, num20;

แต่เราจะใช้ชนิดข้อมูลในรูปแบบตัวแปรอะเรย์ ในการสร้างตัวแปรในลักษณะแบบนี้แทนครับ เมื่อเราศึกษาการเขียนโปรแกรมไปสักระยะหนึ่งเราจะรับรู้ได้ทันทีว่า การสร้างตัวแปรเพื่อเก็บข้อมูลนั้น ข้อมูลบางอย่างเราจะหนีไม่พ้นที่จะต้องสร้างตัวแปรให้อยู่ในรูปของตัวแปร "อะเรย์"

รูปแบบการประกาศใช้งานตัวแปรอะเรย์ ในภาษา JAVA มีรูปแบบดังนี้
int[] num;
num = new int[10];

แล้วคุณก็สามารถที่จะเขียนได้เพียงบรรทัดเดียวด้วยวิธีการต่อไปนี้
int[] num = new int[10];
                               
แล้วถ้าเราจะประกาศตัวแปรอะเรย์พร้อมกับเก็บค่าเริ่มต้นหรือกำหนดค่าเริ่มต้นให้กับตัวแปรเอะเรย์จะทำได้อย่างไร ทำได้ดังนี้
int[] num = {0,1,2,3,4,5,6,7,8,9};
int[] num = new int[]{0,1,2,3,4,5,6,7,8,9};


ตัวอย่าง

รูปที่ 1. โค้ดโปรแกรมตัวอย่างการใช้งานอะเรย์ แบบประกาศตัวแปรกำหนดค่าภายหลัง

รูปที่ 2. โค้ดโปรแกรมตัวอย่างการใช้งานอะเรย์ แบบประกาศตัวแปรพร้อมกำหนดทันที


        นอกจากนี้ ถ้าเราต้องการเก็บข้อมูลในรูปแบบข้อความ ไม่ว่าจะเป็นแบบตัวอักษรหนึ่งตัว (Character) แต่เก็บในรูปแบบอะเรย์ และการเก็บข้อความต่อเนื่องที่เรียกว่าสตริง (String) เราจะประกาศได้ดังนี้
ประกาศด้วยชนิดข้อมูล char

char[] ch = {'a', 'b', 'c', 'd', 'e', 'f', 'g', 'h', 'i', 'j'};

หรือประกาศด้วยชนิดข้อมูล String

String[] str = new String[10];
String[] str = {"a", "b", "c", "d", "e",
        "f", "g", "h", "i", "j" };
String[] str = new String[]{"a", "b", "c", "d", "e",

                                            "f", "g", "h", "i", "j" };

รูปที่ 3. โค้ดโปรแกรมตัวอย่างการใช้งานอะเรย์ชนิดข้อมูลตัวอักษรและชนิดข้อมูลในแบบสตริง

วันี้เราได้เรียนรู้อะไร
1. การประกาศใช้งานตัวแปรอะเรย์ของจำนวนตัวเลข ตัวอักษร และสตริง
2. สิ่งที่น่าสนใจคือ การประกาศตัวแปรอะเรย์ด้วยชนิดข้อมูล char และ String เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร


พบกันใหม่พรุ่งนี้ครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สร้างต้นคริสต์มาสด้วย JAVA

ฟังก์ชัน SerialEvent กับ Arduino

การใช้งาน PIC18Fxxxx กับ MPLAB X + XC8 ด้วย Peripheral Libraries (PLIBS)